รีวิวหนังสือ – Mindset ใช้ความคิด เอาชนะโชคชะตา (ตอนที่ 2)
บทที่ 4 – กีฬา : กรอบคิดของผู้ชนะ
- คุณสมบัติที่ฮีโร่ควรมี คือ เมื่อเขา/เธอพ่ายแพ้ จะรู้สึกหวาดหวั่น แต่จากนั้นก็จะลุกขึ้นสู้ และคว้าชัยชนะได้ในที่สุด
- ไม่มีใครคิดว่า ตัวเองเป็นคนพิเศษที่เกิดมาเป็นผู้ชนะ พวกเขาคือคนที่ฝึกฝนอย่างหนัก เรียนรู้วิธีรักษาสมาธิภายใต้แรงกดดัน และท้าทายตัวเองให้ทำสิ่งที่เกินความสามารถปกติเมื่อถึงยามจำเป็น
- คนที่มีกรอบคิดแบบพัฒนาได้มองว่า ความสำเร็จมาจากการพยายามอย่างเต็มที่ การเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง
- คนที่มีกรอบคิดแบบพัฒนาได้มองว่า ความล้มเหลวเป็นแรงจูงใจ เป็นข้อมูล และเป็นคำเตือน
- คนที่มีกรอบคิดแบบพัฒนาได้ จะทำตามกระบวนการที่ก่อให้เกิดและคงไว้ซึ่งความสำเร็จ (ระเบียบวินัย)
- การเป็นคนดัง/ดาวเด่น ไม่ได้ตัดสินกันที่ผมแพ้ชนะ แต่เป็นการสู้ด้วยทุกสิ่งที่ตัวเองมี
บทที่ 5 – ธุรกิจ : กรอบคิดกับความเป็นผู้นำ
- นักวิจัยมองเห็น “ทิฐิ” ในตัวผู้นำมากกว่า 2 ใน 3 จากทั้งหมด ทิฐินี้ทำให้บริษัทล่มสลายนเร็วขึ้น หรือทำให้บริษัทชั้นนำกลายเป็นบริษัทชั้นรอง
- โรคซีอีโอ คือ อันตรายจากกรอบคิดแบบตายตัวที่ทำให้พวกเขารับรู้แต่เรื่องดีๆ เกี่ยวกับความสำเร็จของบริษัท (และความสมบูรณ์แบบของตัวซีอีโอเอง) โดยไม่สนใจสัญญาณเตือนใดๆ
- ซีอีโอที่ดีจะไปเยี่ยมออฟฟิศและโรงงาน เพื่อรับฟังปัญหาจากพนักงานอย่างสม่ำเสมอ พวกเขาคือคนที่ซีอีโอเคารพ เรียนรู้ และเอาใสใส่
- ซีอีโอที่ดีจะเน้นการทำงานเป็นทีม
- ความมั่นใจในตัวเองที่แท้จริง คือ ความกล้าที่จะเปิดในยอมรับการเปลี่ยนแปลงและแนวคิดใหม่ๆ ไม่ว่ามันจะมาจากที่ใดก็ตาม
- เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกแย่ที่ตัวเองทำเรื่องผิดพลาด หน้าที่ของซีอีโอคือช่วยให้พวกเขาผ่านพ้นเรื่องนี้ไปให้ได้
- ความสำเร็จเกิดจากการพร้อมเผชิญหน้ากับความท้าทาย การแสดงความมุมานะ รวมถึงการยอมรับและแก้ไขข้อผิดพลาด
- สมองของคนเราสามารถพัฒนาได้ตลอดชีวิต รวมถึงคนเราพัฒนาความสามารถได้ หากได้รับการชี้แนะและฝึกฝน
บทที่ 6 – ความสัมพันธ์ : กรอบคิดด้านความรัก
- คนที่มีกรอบคิดแบบตายตัวจะรู้สึกว่าถูกตัดสินและตราหน้าเมื่ออีกฝ่ายเดินจากไป (รวมไปถึงความแค้นในใจที่ก่อตัวขึ้นมา)
- คนที่มีกรอบคิดแบบพัฒนาได้ การเลิกราเป็นเรื่องของการทำความเข้าใจ การให้อภัย และการเดินหน้าต่อไป
- ผู้หญิงคนหนึ่งบอกว่า “ฉันไม่ใช่นักบุญ แต่ฉันรู้ว่าถ้าอยากให้จิตใจสงบก็ต้องให้อภัยเขา แล้วลืมเรื่องที่เกิดขึ้นซะ เขาทำร้ายฉัน แต่ฉันยังมีชีวิตทั้งชีวิตรออยู่ ฉันต้องแย่แน่ถ้ายังจมปลักอยู่กับอดีต วันหนึ่งฉันก็คิดได้ว่า ‘ขอให้เขาโชคดี และก็ขอให้ตัวเองโชคดีด้วย’ ”
- “ฉันต้องแย่แน่ ถ้ามัวแต่หดหู่อยู่แบบนี้” (บางทีนี้อาจเป็นคำพูดติดปากของคนที่มีกรอบคิดแบบพัฒนาได้)
- ความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืนเกิดขึ้นจากความพยายามและการรับมือกับความแตกต่างของแต่ละฝ่าย
- ไม่มีอะไรจะทำให้คู้รักเดือดดาลได้มากไปกว่าการถูกละเมิดสิทธิ และการที่อีกฝ่ายรู้สึกว่าตัวเองมีสิทธิในสิ่งที่คุณไม่คิดว่าเขาหรือเธอควรมี
- การเลือกคนรักคือการเลือกปัญหาจำนวนหนึ่งเข้ามาในชีวิต ไม่มีผู้สมัครคนไหนไร้ปัญหา เคล็ดลับก็คือ จงยอมรับข้อจำกัดของกันและกัน แล้วสร้างความสัมพันธ์ขึ้นจากจุดนี้
- ปัญหาหลายอย่างเกิดจากการสื่อสาร ไม่ได้เกิดจากบุคลิกภาพหรือนิสัย แต่คนที่มีกรอบคิดแบบตายตัวมักโทษสองสิ่งนี้
- จุดประสงค์ของการแต่งงาน คือ การสนับสนุนพัฒนาการของคนรัก และได้รับแรงสนับสนุนจากคนรัก
- เพื่อนจะช่วยเตือนสติและกระตุ้นให้เรากล้าทำในสิ่งที่ช่วยให้เราเติบโต เพื่อนจะช่วยยืนชันคุณสมบัติดีๆ ของกันและกัน ถึงแก้การชื่นชมจะเป็นอันตราย แต่บางครั้งเราก็ต้องการคำยืนยันเพื่อสร้างความมั่นใจ
- ทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าคุณมองหาแต่คนที่ดีพร้อม คุณจะมีเพื่อนน้อยมาก อย่างไรก็ตาม คนประเภทเดียวที่เธอจะไม่ทนก็คือคนที่ทำให้เธอรู้สึกแย่กับตัวเอง
- สุภาษิตโบราณบอกไว้ว่า ในยามลำบากคุณจะรู้ว่าใครคือเพื่อนแท้ แน่นอนว่าคำพูดนี้มีประโยชน์มาก ลองนึกดูว่าใครจะอยู่เคียงข้างคุณในยามที่คุณประสบปัญหา …
- … แต่คำถามที่ยากกว่านั้นคือ คุณสามารถหันไปหาใครในเวลาที่มีเรื่องดีๆ เกิดขึ้น เวลาที่คุณได้เจอคนรักที่ยอดเยี่ยม ได้งานดีๆ ได้เลื่อนขั้น ใครจะยินดีรับฟังเรื่องเหล่านี้
- คนที่มีกรอบคิดแบบตายตัวและคนที่มีกรอบคิดแบบพัฒนาได้เผชิญสถานการณ์เดียวกันด้วยทัศนคติที่แตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งอ้าแขนรับความท้าทาย ส่วนอีกกลุ่มกลัวที่จะต้องเสี่ยง
- จงพยายามมองปัญหาด้วยกรอบคิดแบบพัฒนาได้ กล่าวคือ ปัญหาสามารถทำให้คุณและคนรักเข้าอกเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น จงเปิดโอกาสให้คนรักได้แสดงความคิดเห็นในมุมมองที่ต่างออกไป จากนั้นก็รับฟังอย่างตั้งใจ รวมถึงพูดคุยกับเขาหรือเธอด้วยความอดทนและเอาใจใส่ คุณอาจแปลกใจที่การทำแบบนี้ช่วยให้คุณใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
สำหรับสรุปเนื้อหาตอนต่อไป สามารถติดตามต่อได้ที่นี่ครับ https://karnlab.com/review-mindset-book-3
Pingback: รีวิวหนังสือ – Mindset ใช้ความคิด เอาชนะโชคชะตา (ตอนที่ 2) - Wiki-M.com
Pingback: รีวิวหนังสือ – Mindset ใช้ความคิด เอาชนะโชคชะตา (ตอนที่ 3) - Wiki-M.com