รีวิวหนังสือ

สรุปข้อคิดจากหนังสือ ลงทุนหุ้นท่ามกลางวิกฤติ (ดร.นิเวศน์)

หนังสือเล่มนี้เป็นรวบรวมบทความของ ดร.นิเวศน์ หลังจากเหตุการณ์โควิด-19 ช่วงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นวิกฤติทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทยและทั่วโลก

  • สังเกตว่าช่วงหลัง ดร.นิเวศน์ จะพูดถึงการลงทุนในเวียดนาม และ การ Corner (ปั่นราคา) หุ้นอยู่บ่อยๆ
  • ความรู้ บวกกับ โอกาสทอง สามารถ เปลี่ยนชีวิต คนได้มากและรวดเร็ว
  • ความสำเร็จในชีวิต เป็นผลมาจาก ลงทุนในการศึกษา/ความรู้, ไม่เสียหายอย่างหนักเมื่อเจอวิกฤติ, ความโชดี
  • คุณสมบัติของหุ้นปันผลที่ดี – ไม่ถูก disrupt ด้วยเทคโนโลยี, มีความสามารถในการแข่งขัน, ดำเนินธุรกิจมานานและผ่านวิกฤติมาได้ทุกครั้ง, มีกำไรที่ดีมาโดยตลอด, ฐานะการเงินของบริษัทมั่นคง
    Fair company at wonderful price – หลักการใหญ่ๆ ในการซื้อหุ้นของวอร์เรน บัฟเฟตต์ คือ 1. หุ้นบริษัที่ดีสุดยอด 2. หุ้นที่มีราคาถูกมาก

นอกจากหุ้นของบริษัทที่ดีสุดยอดและมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคตแล้ว (แนวคิดการลงทุนแบบ วอร์เรน บัฟเฟตต์) หุ้นของบริษัทที่ดีและมีราคาถูก ก็น่าสนใจในการลงทุนเช่นกัน (แนวคิดการลงทุนแบบ เบน เกรแฮม)

ลงทุนหุ้น ท่ามกลางวิกฤต (ดร.นิเวศน์) 2
ลงทุนหุ้น ท่ามกลางวิกฤต (ดร.นิเวศน์) 2

Survivor – กลยุทธ์การลงทุน แก้ว 3 ประการ – 1. ความสามารถในการหาเงินมาลงทุน 2. ความสามารถในการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูง 3. ความสามารถในการลงทุนเป็นระยะเวลายาวนาน – ถ้าแก้วทุกดวงสุกสว่างก็จะมีความมั่งคั่งทางการเงินได้ไม่ยาก

คนที่จะเป็น Survivor ต้องคิดถึงเรื่องของความเสี่ยงมากกว่าปกติ ต้องหลีกเลี่ยงการขาดทุนอย่างหนัก และต้องกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

พอร์ตหุ้นเพื่อชีวิต – นอกจากการลงทุนในประเทศไทยแล้ว ดร.นิเวศน์ แนะนำว่า ตลาดอเมริกา ตลาดจีน ตลาดเวียดนาม ก็เป็นประเทศที่น่าไปลงทุนเช่นเดียวกัน (ผ่าน ETF หรือ กองทุนดัชนี)

บทเรียนการลงทุนจากโควิด-19
1) การลงทุนมีความเสี่ยง และเราไม่มีทางรู้ว่าวิกฤตจะมาเมื่อไหร่
2) วิกฤติตลาดหุ้นมักจะมาทุกๆ 10 ปี +/-
3) ท่ามกลางวิกฤต หุ้นที่จะตกลงมาแรงก่อนเพื่อน คือ หุ้นกลุ่มธนาคาร (เพราะสะท้อนภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ)
4) หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันและปิโตรเคมี จะตกลงมาอย่างหนัก
5) ผู้ผลิตหรือขายสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน จะพอเอาตัวรอดได้ในภาวะวิกฤต
6) หุ้นที่อันตรายที่สุดในยามวิกฤตคือหุ้นเล็กโตเร็วที่มีค่า P/E สูงมากๆ
7) หุ้นที่อันตรายอีกตัวในยามวิกฤตคือหุ้นที่มีหนี้สินมีค่า D/E สูงมากๆ
8) มูลค่าที่แท้จริงวัดจากผลประกอบการในระยะยาวเทียบกับราคาหุ้น
9) ในทุกวิกฤตจะมีผู้แพ้และผู้ชนะเสมอ

วิกฤตตลาดหุ้นไทย
1) ราชาเงินทุน (2522)
2) Black Monday (2530)
3) สงครามอ่าวเปอร์เซียร์ (2533)
4) ต้มยำกุ้ง (2540)
5) .com ดอทคอม (2543)
6) ซับไพรม แฮมเบอร์เกอร์ (2551)
7) โควิด-19 (2563)

ลงทุนหุ้น ท่ามกลางวิกฤต (ดร.นิเวศน์) 3
ลงทุนหุ้น ท่ามกลางวิกฤต (ดร.นิเวศน์) 3

This too shall pass, สิ่งนี้เหมือนกัน มันจะผ่านไป – โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ธุรกิจก็จะต้องปรับตัวไปเรื่อยๆ มีธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ และธุรกิจที่ล้มหายตามจาก เป็นวัฎจักรวนเวียนไปไม่มีสิ้นสุด

Pent-up Demand & Wealth Effect – ในบทนี้มีพารากราฟหนึ่งที่น่าสนใจมากครับ … ผู้บริโภคจะมีความต้องการซื้อสินค้ามากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับ ความรู้สึกว่าเขารวยแค่ไหน / คนที่รู้สึกว่าตัวเองรวย ก็จะกล้าใช้เงิน / คนที่รู้สึกว่าตัวเองจน ก็จะไม่กล้าใช้เงิน

และอีกข้อสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจที่ ดร.นิเวศน์ เขียนไว้ คือ เมื่อตลาดหุ้นดี ทรัพย์สินราคาแพงก็จะดีตามไปด้วย เพราะเมื่อราคาหุ้นสูงขึ้น คนรวยที่มีหุ้นก็จะรู้สึกว่าตัวเองรวยขึ้น จึงกล้าซื้อของฟุ่มเฟือยมากขึ้น

วิวัฒนาการของชีวิตนักลงทุน – ในบททนี้ ดร.นิเวศน์ เผยมุมมองการใช้ชีวิตในแง่มุมต่างๆ – ผมขอยกตัวอย่าง เมื่อก่อน ดร.นิเวศน์ มองว่า เรื่องต่างๆ ในชีวิตเป็นแบบสัมบูรณ์ (Absolute) แต่เมื่ออายุมากขึ้น มองว่าเรื่องต่างๆ ในชีวิตเป็นแบบสัมพัทธ์ (Relative)

ยกตัวอย่างเช่น การมองความเก่งหรือศักยภาพของคน หากใครได้คะแนนสอบสูงก็จะเป็นคนเก่ง แต่เมื่อใช้ชีวิตมากขึ้น พบว่าชีวิตคือการแข่งขัน เก่งแค่ไหนไม่สำคัญ สำคัญว่าคุณแพ้หรือชนะในสนามที่คุณแข่ง / คนที่เก่งมากๆ ในไทย แต่ถ้าต้องไปแข่งกับ อัจฉริยะในซิลิคอนวอลเลย์ อาจจะแพ้ 7-0 เอ้ย! แพ้หมดรูปเลยก็ได้ (แพ้ 7-0 นี่ผมเขียนเองนะครับ)

ในตอนท้ายบท สงครามจริงกำลังจะเริ่ม ดร.นิเวศน์ ได้ให้ข้อคิดในการเอาตัวรอดในตลาดหุ้นไว้อย่างน่าสนใจว่า การลงทุนเพื่อให้มีอิสรภาพทางการเงิน (ร่ำรวย) ก็เหมือนการเดินเรือออกทะเลไปสู่ดินแดนอันมั่งคั่งที่อยู่ห่างไกล ซึ่งต้องใช้เวลานานมาก และอาจต้องใช้เวลาตลอดชีวิต ระหว่างทางต้องฝ่าคลื่นลมและลมพายุใหญ่ถาโถมซัดกระหน่ำ เราไม่รู้ว่าอุปสรรคเหล่านั้นจะมาเมื่อไหร่ และเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เลวรา้นนั้นได้ ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำ คือ ทำให้มั่นใจว่าเรามีเรือที่ดีและแข็งแกร่งที่จะฝ่าคลื่นลม ไม่ล่มลงจมกลางทะเล ส่วนตัวเราที่เป็นผู้เดินเรือ ก็ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และละทิ้งเป้าหมายไปเสียก่อน

สัญญาณเก็งกำไรในตลาดหุ้น

  1. มูลค่าการซื้อขายต่อวัน(ทั้งตลาด)สูงมาก
  2. ค่า P/E ของตลาดสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  3. ราคาของหุ้นเล็ก/หุ้นกลางปรับตัวขึ้นแรง
  4. หุ้นเล็ก/หุ้นกลางมีปริมาณการซื้อขายสูงสุดเป็น 10 อันดับแรก
  5. ดัชนีโดยรวมของตลาดไม่ได้สูงขึ้นมาก (แต่หุ้นบางตัวราคาสูงขึ้นไปมาก แต่ไม่มีผลต่อดัชนีมากนัก)
  6. ราคาหุ้นบางตัวขึ้นไปสูงมากแบบไม่น่าจะเป็นไปได้

สำหรับบทอื่นๆ จะเป็นการแสดงการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของ ดร.นิเวศน์

ลงทุนหุ้น ท่ามกลางวิกฤต (ดร.นิเวศน์) 4
ลงทุนหุ้น ท่ามกลางวิกฤต (ดร.นิเวศน์) 4

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *