รีวิวหนังสือ

รีวิวหนังสือ ตีแตก (ดร.นิเวศน์)

หนังสือตีแตกเล่มนี้เขียนโดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เซียนหุ้น VI ที่หลายคนน่าจะรู้จักกันดี (แต่ถ้าใครไม่รู้จัก พูดง่ายๆ ก็คือ ดร.นิเวศน์ เป็นเซียนหุ้นที่ดูปัจจัยพื้นฐานของบริษัทมากกว่าเล่นกับราคาหุ้น ดร.นิเวศน์ โด่งดังเมื่อช่วงปี 40 ที่แม้ตลาดหุ้นจะกระทบหนัก แต่เขาก็สามารถทำกำไรในตลาดหุ้นช่วงนั้นได้)

ผมเห็นหนังสือเล่มนี้มานานมาก แต่เพิ่งอ่านหนังสือเมื่อปี 2564 ที่จริงหนังสือเล่มนี้เขียนมาตั้งแต่ช่วงปี 2540 นับอายุหนังสือเล่มนี้ก็ 20 กว่าปีแล้ว … แน่นอนว่าเนื้อหาบางส่วนก็อาจจะล้าสมัย ใช้การไม่ได้ในปัจจุบันแล้ว แต่เนื้อหลายส่วนก็ยังคงคลาสสิคและใช้งานได้ดีในปัจจุบัน

เนื้อหาในหนังสือแบ่งออกเป็น 10 บท คือ

  • วิเคราะห์ธุรกิจประเภทต่างๆ
  • วิเคราะห์งบการเงิน
  • วิเคราะห์ราคาหุ้น
  • สไตล์การลงทุน
  • ตีแตก
  • นักลงทุนเอกของโลก
  • การค้นหาหุ้น
  • เรื่องน่าห่วงในการลงทุน
  • การลงทุนในทรัพย์สินอื่นๆ
  • สรุป
ตีแตก 2
ตีแตก 2

สรุปเนื้อหา

หมายเหตุ: ในสรุปนี้จะมี My Notes คือ จดบันทึกของผมเอง ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือนะครับ

บทที่ 1 – วิเคราะห์ธุรกิจประเภทต่างๆ

  • เวลาซื้อหุ้น ให้เราคิดว่า เรากำลังร่วมลงทุนเพื่อทำธุรกิจในบริษัทที่เราสนใจ
  • บางครั้งการซื้อหุ้น (ร่วมลงทุน) ก็ใช้เงินน้อยกว่าการเริ่มลงทุนทำธุรกิจเอง
  • “โอกาสมักเปิดให้กับคนที่อยู่ในตำแหน่งที่จะฉกฉวยได้เท่านั้น”
  • ธุรกิจแต่ละประเภทเป็นสัตว์ที่ไม่เหมือนกัน
    ( นกและปลามาวิ่งแข่งกันม้าไม่ได้ / ปลาและม้าบินแข่งกับนกไม่ได้ / ม้าและนกว่ายน้ำแข่งกับปลาไม่ได้ )
  • กลุ่มผู้ผูกขาดสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Monopoly) – สินค้าในก็ตามที่มีแบรนด์ติดตลาดแล้ว เหนือชั้นกว่าคู่แข่งค่อนข้างมาก ส่วนแบ่งการตลาดสูง – สามารถซื้อเก็บได้ยาวๆ
  • ธุรกิจสัมปทาน (License Business) – ข้อดีคือคู่แข่งมีน้อย ข้อเสียคือถูกควบคุมราคา – ดร.นิเวศน์ไม่ชอบเท่าไร เพราะการขยายธุรกิจใช้เงินลงทุนสูง (เว้นแต่ธุรกิจที่ขยายแล้วใช้เงินน้อยลงจึงจะน่าสนใจ)
  • ธุรกิจควบคุม / ธนาคารพาณิชย์ – ดี ใช้ได้ เพราะมีผู้เล่นเพียง 10 กว่าแห่ง – เมื่อคุณซื้อหุ้นธนาคาร คุณกำลังพนันว่าภาวะธรกิจโดยรวมของประเทศจะดีขึ้นเรื่อยๆ และคุณซื้อเหมาทั้งธุรกิจที่ดีและไม่ดีที่อยู่ในพอร์ตสินเชื่อของธนาคาร
  • ธุรกิจส่งออก (Exporter) – ต้องดูว่าบริษัทรับเงินเป็นเงินสกุลใด และมีหนี้ในประเทศ/ต่างประเทศมากน้อยแค่ไหน
  • ธุรกิจมีจุดเด่น (Niche Player) – เป็นบริษัทที่เก่งในการผลิตสินค้าหรือให้บริการเฉพาะด้าน มักไม่ใช่บริษัทใหญ่ แต่สิ่งที่บริษัทเหล่านี้ทำได้นั้น แม้แต่บริษัทใหญ่ๆ ก็สู้ไม่ได้ – เป็นธุรกิจที่ดีโดยพื้นฐาน เมื่อฟ้าเริ่มสดใสผลการดำเนินงานก็จะดีขึ้น ราคาหุ้นก็จะดีดกลับเสมอ “เหมือนคนมีวิชาดีติดตัว ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้”
  • ธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) – คุณสมบัติของสินค้าโภคภัณฑ์ คือ หน้าตาและคุณภาพของสินค้าคล้ายกัน ไม่ว่าจะผลิตมาจากโรงงานไหน / ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีการซ้อขายทั่วโลกในราคาเดียวกัน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่สามารถกำหนดราคาได้ – หุ้นประเภทนี้เล่นไม่ยาก มีกำไรแล้วต้องถอย
ตีแตก 3
ตีแตก 3

บทที่ 2 – วิเคราะห์งบการเงิน

  • งบกำไรขาดทุน
    • ดูยอดขายก่อน ยิ่งยอดขายมากกว่าสินทรัพย์หลายเท่า ถือว่าดี
    • รายได้อื่นๆ ไม่เป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่มากเกินไป
    • กำไรขั้นต้น (รายได้ – ต้นทุนขาย) ควรมากกว่า 20%
    • ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร เปรียบเทียบกับ ยอดขาย และ กำไรขั้นต้น ไม่เป็นเปอร์เซ็นต์ที่มากเกินไป
    • ข้อมูลที่เราสนใจมากที่สุด คือ กำไรต่อหุ้น (EPS) (กำไรสุทธิ หารด้วย จำนวนหุ้นทั้งหมด) – ซึ่งจะนำไปใช้คำนวณ P/E Ratio (ดูว่าหุ้นถูกหรือแพง) ต่อไป
    • My Notes: มูลค่าทางบัญชี (Book Value per share) = ส่วนของผู้ถือหุ้น (สินทรัพย์ – หนี้สิน) หารด้วย จำนวนหุ้นทั้งหมด – นำไปใช้คำนวณ P/BV Ratio
    • ผลตอบแทน (กำไรสุทธิ) ต่อ ส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ประมาณ 20% ถือว่าใช้ได้
    • My Notes: แต่ถ้าธุรกิจธนาคารต้องใช้ (ROA) แทน (ROE)
  • การวิเคราะห์งบดุล
    • งบดุลเป็นงบแสดงฐานะการเงินของกิจการ บริษัทมีความเข็มแข็งแค่ไหน และจะฝ่าพันอุปสรรคไปได้หรือไม่ – ถ้าโครงสร้างการเงินไม่แข็งแรง เมื่อพบเจอกับความผันผวนทางธุรกิจ ธุรกิจก็อาจล้มละลายได้
    • สินทรัพย์ของบริษัท
      • เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นแสดงถึงสภาพคล่องทางการเงิน
      • ลูกหนี้การค้า – ดี หรือ ไม่ดี / ระยะเวลาเครดิต
      • สินค้าคงคลัง – ระวัง Death Stock / ระยะเวลาขายสินค้า
      • ที่ดิน โรงงาน และ เครื่องจักร
    • หนี้สินของบริษัท
      • เงินกู้ระยะสั้น
      • เจ้าหนี้การค้า
      • หนี้ระยะยาว
      • My Notes: สำหรับบริษัทเล็ก D/E ไม่ควรเกิน 1 เท่า
  • แนวโน้มผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการ
    • ดูเรื่องการเจริญเติบโตของกำไรและยอดขาย
    • ยอดหนี้ควรจะลดลงเรื่อยๆ หรือ D/E ลดลงเรื่อยๆ
    • สัดส่วนของลูกหนี้การค้าต่อยอดขายต้องไม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ระวังหนี้เสีย)
    • สินค้าคงคลังต่อยอดขายต้องไม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ระวัง Death Stock)
  • สรุป
    • ดูข้อมูลย้นหลังหลายๆ ปี
    • งบการเงิน ถ้ามีหมายเหตุของผู้สอบบัญชี ต้องระวังเป็นพิเศษ
    • บริษัทที่มีหนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นอันตราย
ตีแตก 4
ตีแตก 4

บทที่ 3 – วิเคราะห์ราคาหุ้น

  • คุณต้องรู้ก่อนว่าหุ้นบริษัทไหนดี ราคาควรจะเป็นเท่าไร เสร็จแล้วเฝ้ารอว่าเมื่อไรหุ้นตัวนั้นจะลดราคาแบบ Grand Sale
  • คุณภาพของหุ้น
    • หุ้นคุณภาพดีนั้นวัดกันที่ความสามารถในการทำกำไร (EPS)
    • บริษัทต้องเติบโตอย่างน้อยในอีก 5 ปีข้างหน้า
    • อัตราการเติบโตของกำไร/รายได้
      • น้อยกว่า 7% ต่อปี ถือว่า โตช้า
      • 7-15% ต่อปี ถือว่า โตปานกลาง
      • มากกว่า 15% ต่อปี ถือว่า โตเร็ว เป็นหุ้นคุณภาพดี
  • ราคาหุ้น
    • หุ้นถูกหรือแพงให้ดู P/E Ratio
    • หุ้นที่มีค่า P/E สูง ถือว่าแพง หุ้นที่มีค่า P/E ต่ำ ถือว่าถูก
    • P/E แค่ไหนเรียกว่าถูกหรือแพง – ให้เปรียบเทียบกับ P/E ของตลาด
      เช่น ถ้า P/E ของตลาด = 15 เท่า, หุ้น A มีค่า P/E = 10 ถือว่าถูก, หุ้น B มีค่า P/E = 20 ถือว่าแพง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจด้วย)
    • ถึงแม้ว่าหุ้นจะถูก ไม่ได้หมายความว่าเราควรซื้อ ต้องเปรียบเทียบกับคุณภาพหุ้นด้วย
  • คุณภาพ vs ราคาหุ้น
    • อัตราส่วนความคุ้มค่า PEG Ratio วัดจาก P/E ของหุ้นตั้ง หารด้วย Growth ของกำไรในหน่วยเปอร์เซ็นต์
    • ถ้าอัตราส่วนน้อยกว่า 1 แสดงว่าหุ้นมีราคาถูกกว่าคุณภาพ
    • แต่ถ้าอัตราส่วนมากกว่า 1 แสดงว่าหุ้นมีราคาแพงกว่าคุณภาพ

บทที่ 4 – สไตล์การลงทุน

ควรเลือกแบบใดแบบหนึ่งที่ถูกกับจริตของเรา

  • ลงทุนในหุ้นตัวเร็ว (Growth Investment) – ไม่สนใจว่าหุ้นตัวนั้นจะแพงแค่ ขอแค่มีแรงที่จะขึ้นต่อไปได้ และเราสามารถทำกำไรได้ทันก็พอแล้ว
  • ลงทุนในหุ้นแบกับดิน (Value Investment) – ตามแนวคิดของ เบนจามิน เกรแฮม ราคาหุ้นต้องน้อยกว่า 2 ใน 3 เท่าของ (สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินทั้งหมด) ของบริษัท / การซื้อหุ้นต้องมี Margin of Safety – ซึ่งแนวคิดนี้ถูกพัฒนาต่อโดย วอร์เรน บัฟเฟต
  • ลงทุนแบบเหวี่ยงแห (Passive Investment) – ซื้อหุ้นกระจายหลากหลายตัว/อุตสาหกรรม ผลตอบแทนที่เราได้ ก็จะใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาด วิธีนี้ไม่ต้องเสียเวลาวิเคราะห์หุ้น / อีกทางเลือกหนึ่งคือลงทุนในกองทุนที่อ้างอิงดัชนี หรือ Index Fund

บทที่ 5 – ตีแตก

ยกตัวอย่างการเล่นไพ่ตีแตก อธิบายสั้นๆ คือ เมื่อเราเห็นโอกาสชนะแน่ 80-90% ขึ้นไป เราต้องกล้าที่จะเทหมดหน้าตัก

บทที่ 6 – นักลงทุนเอกของโลก

ยกตัวอย่างเรื่องราวของนักลงทุน 3 ท่าน คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ / จอร์จ โซรอส / ปีเตอร์ ลินช์

บทที่ 7 – การค้นหาหุ้น

กระบวนการค้นหาหุ้นโดยใช้ตะแกรงร่อน

  1. มีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี
  2. ยอดขายเพิ่มขึ้นทุกปี
  3. กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) มากกว่า 15%
  4. มูลค่าหุ้นทั้งบริษัท (Market Cap.) สมเหตุสมผลหรือไม่
  5. หุ้น P/E ต่ำ น่าสนใจกว่า หุ้น P/E สูง
  6. หุ้น P/BV ต่ำ น่าสนใจกว่า หุ้น P/BV สูง

บทที่ 8 – เรื่องน่าห่วงในการลงทุน

  1. กระจายความเสี่ยง โดยการซื้อหุ้นกระจายตามกลุ่มอุตสาหกรรม 10 ตัวขึ้นไป
  2. หุ้นแต่ละตัวมีสภาพคล่องไม่เหมือนกัน (ตัวที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักลงทุน มักจะซื้อขายยากกว่า) – การกระจายซื้อหุ้นให้หลากหลายตัว สามารถช่วยได้
  3. ต้องดูผู้บริหารของบริษัทด้วย ทั้งเรื่องฝีมือ พฤติกรรม/จริยธรรม/ธรรมาภิบาล

บทที่ 9 – การลงทุนในทรัพย์สินอื่นๆ

  • เงินฝากประจำ เป็นการลงทุนที่ปลอดภัย (อย่างน้อยก็ไม่เสียเงินต้น) – ถ้าทำใจเล่นหุ้นไม่ได้ แนะนำให้ลงทุนด้วยเงินฝาก
  • ที่ดิน และ ทองคำ – ดร.นิเวศน์ ไม่ชอบ
  • ภาพเขียน งานศิลปะ พระเครื่อง เหรียญ สแตมป์ – ไม่แนะนำให้ลงทุน
ตีแตก 5
ตีแตก 5

บทที่ 10 – สรุป

  1. ต้องคิดว่า หุ้นเป็นกิจการหรือธุรกิจที่เราจะเข้าไปเป็นหุ้นส่วน
  2. ก่อนซื้อหุ้น ต้องวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทนั้น
    กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ควรมากกว่า 15๔
  3. ดูว่าหุ้นนั้นมีราคาถูกหรือแพง โดยเปรียบเทียบกับคุณภาพของหุ้นตัวนั้น
    P/E ควรต่ำกว่า 5 เท่า (น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ P/E ตลาด)
    P/BV ควรต่ำกว่า 1 เท่า
  4. ถ้าแนวทางหรือสไตล์การลงทุนของเราเองให้เจอ
  5. เมื่อเจอโอกาสต้องกล้าเดิมพัน (ตีแตก)
  6. ศึกษาจากนักลงทุนเอกของโลกบ้าง
  7. ใช้ตะแกรงร่อนเพื่อคัดเลือกหุ้นที่จะซื้อ
  8. กระจายความเสี่ยงโดยการซื้อหุ้นหลายตัว / ดูเรื่องสภาพคล่อง / ดูเรื่องผู้บริหาร

เกี่ยวกับหนังสือ

  • หนังสือเล่มนี้หนานประมาณ 170 หน้า ราคา 170 บาท ถือว่าราคากลางๆ แต่ถ้าเทียบกับเนื้อหาข้างในถือว่าราคาถูกครับ
  • หนังสือเล่มนี้เป็นข้อความล้วนๆ ไม่มีรูปภาพกราฟฟิคใดๆ บางคนอาจจะอ่านไปแล้วเบื่อๆ ง่วงๆ ได้
  • คำเตือน: เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงแนวทางในการลงทุน ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลและพร้อมรับความเสี่ยงในการตัดสินใจลงทุน

สรุป

ใครที่คิดจะลงทุน(หรือแม้แต่เทรดเก็งกำไร)ในตลาดหุ้น ควรอ่านหนังสือเล่มนี้สักนิด ก่อนที่จะเริ่มซื้อขายจริงในตลาดหลักทรัพย์ครับ

รายละเอียดหนังสือ

ชื่อหนังสือตีแตก กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต
ผู้เขียนดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สำนักพิมพ์ซีเอ็ด
ปีที่พิมพ์2008

https://blog.settrade.com/blog/nivate/

https://www.se-ed.com/product/%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95.aspx?no=9789742126810

ตีแตก 1
ตีแตก 1

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *