รีวิวหนังสือ – Mindset ใช้ความคิด เอาชนะโชคชะตา (ตอนที่ 3)
บทที่ 7 – พ่อแม่ ครู และโค้ช : กรอบคิดมาจากไหน
- การชื่นชมสติปัญญาของเด็กเป็นอันตรายต่อแรงจูงใจในการเรียนรู้และผลงานของพวกเขา
- ถ้าพ่อแม่อยากให้ของขวัญลูก สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเข้าทำได้คือ สอนให้ลูกรักความท้าทาย รู้จักใช้ความผิดพลาดเป็นแรงกระตุ้น สนุกกับการพยายาม และหมั่นเรียนรู้อยู่ตลอด วิธีนี้ช่วยให้ลูกไม่ตกเป็นทาสของคำชม พวกเขาจะรู้จักวิธีสร้างและซ่อมแซมความมั่นใจไปตลอดชีวิต
- เราสามารถชื่นชมพวกเข้าได้มากเท่าที่ต้องการ ตราบใดที่มันเป็นคำชมเรื่องกระบวนการที่เน้นการพัฒนา ซึ่งหมายถึงสิ่งที่พวกเขาทำสำเร็จด้วยการฝึกฝน การศึกษา ความุ่งมั่น และการมีกลยุทธ์ที่ดี
- “จงปกป้องพวกเขาจากความล้มเหลว” ถึงแม้มันอาจจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความผิดหวังของเด็กๆ ได้ในทันที แต่มันก็เป็นอันตรายในระยะยาว
- เด็กๆ จำเป็นต้องได้ข้อมูลป้อนกลับที่จริงใจและเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ ถ้าเด็กๆ ถูกปกป้องจากข้อมูลป้อนกลับเหล่านี้ พวกเขาจะเรียนรู้ได้ไม่ดีนัก
- จำไว้ว่าอย่าตัดสิน แต่จงสอน เพราะมันเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง
- เรามักคิดว่าการใช้ความรุนแรงจะถูกส่งต่อไปยังคนอื่นก็ต่อเมื่อเหยื่อของความรุนแรงนั้นเติบโตไปเป็นพ่อแม่ แต่จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เด็กเรียนรู้บทเรียนตั้งแต่เล็กและลงมือทำตามนั้น
- ครั้งต่อไปที่ต้องลงโทษลูกๆ ให้คุณถามตัวเองก่อนว่า อะไรคือสารที่ฉันกำลังจะส่งออกไป ฉันจะตัดสินและลงโทษลูก หรือจะช่วยให้ลูกรู้จักคิดและเรียนรู้
- นักศึกษาที่ประสบความสำเร็จคือคนที่มีเป้าหมายหลักเป็นการขยายขอบเขตองค์ความรู้ รวมถึงวิธีคิด และวิธีสำรวจโลกใบนี้ พวกเขาไม่ได้มองว่าคะแนนคือจุดสิ้นสุดของอะไรบางอย่าง แต่มองว่ามันคือสิ่งที่จะช่วยให้พวกเขาพัฒนาตนเอง
- “ครูที่ดีคือครูที่ยังเรียนรู้ไปพร้อมกับนักเรียน”
- ในแต่ละวัน คุณต้องพยายามให้ตัวเองเก่งขึ้นทีละนิด เมื่อคุณพยายามทำสิ่งที่จะทำให้คุณเก่งขึ้นทีละนิดติดต่อกัน คุณก็จะกลายเป็นคนที่เก่งขึ้นมาก
- คำถามที่ว่าฉันชนะหรือแพ้ ล้วนเป็นคำถามที่ผิด คำถามที่ถูกต้องคิด ฉันพยายามเต็มที่แล้วหรือยัง
- ครูที่ยอดเยี่ยมเชื่อในเรื่องการพัฒนาพรสวรรค์และสติปัญญา แถมยังหลงใหลในกระบวนการเรียนรู้ด้วย
- แทนที่จะขอให้พวกเขาทำโดยไม่ผิดพลาด จงขอให้พวกเขาทุ่มเทอย่างเจ็มที่ และพยายามสุดความสามารถ
บทที่ 8 – เปลี่ยนกรอบคิด
- เมื่อก่อนแม็กกี้คิดว่า อย่าลงมือทำ อย่าเรียนวิชาการเขียน อย่าเอางานเขียนของเธอให้คนอื่นอ่าน มันไม่คุ้มที่จะเสี่ยงหรอก ความฝันของเธออาจถูกทำลายได้ เพราะฉะนั้นจงปกป้องมันไว้ … แต่ตอนนี้เธอกลับคิดว่า ลุยเลย ทำให้ฝันของเธอเป็นจริง จงพัฒนาทักษะ และไล่ตามความฝันของตัวเอง
- ไม่ต้องกังวลเรื่องการเป็นคนฉลาดให้มากนัก ไม่ต้องกังวลเรื่องการหลีกเลี่ยงความล้มเหลว นั่นเป็นการทำลายตัวเอง มาเริ่มทำงาน มาเริ่มอ่านหนังสือ นอนให้เต็มอิ่ม และใช้ชีวิตตามปกติดีกว่า
- เมื่อเราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การเชื่อมโยงเล็กๆ ในสมองจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวและแข็งแกร่งขึ้น ยิ่งคุณท้าทายสมองให้เรียนรู้มากเท่าไร เซลล์สมองก็ยิ่งเติบโตมากขึ้นเท่านั้น
- ฉันอยากให้คุณลองนึกถึงสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่อยากเรียนรู้ หรือปัญหาที่ต้องเผชิญ แล้วลองเขียนแผนการที่เป็นรูปธรรมออกมา โดยระบุว่าจะทำตามแผนการนั้นเมื่อไร จะทำมันที่ไหน และจำทำมันอย่างไร คุณต้องนึกถึงแผนการดังกล่าวแบบลงรายละเอียดชัดเจน
- ก้าวไปข้างหน้าด้วยกรอบคิดแบบพัฒนาได้ – ลองนึกถึงเป้าหมายของคุณและดูว่า คุณจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้เป้าหมายนั้นกลายเป็นจริง คุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ตัวเองประสบความสำเร็จ
สำหรับรีวิวหนังสือเล่มนี้ สามารถติดตามได้ที่นี่ครับ https://karnlab.com/review-mindset-book-1