แนะนำหนังสือ – กล้าที่จะถูกเกลียด
คนส่วนใหญ่คิดว่า ถ้าอยากมีชีวิตที่ดี เรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญคือ เราต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนอื่น แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะยิ่งคุณพยายามทำดีกับคนอื่นมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งหมายความว่าคุณต้อง “ทิ้ง” ชีวิตของตัวเองมากขึ้นเท่านั้น
แล้วคุณจะมีชีวิตดีขึ้นอย่างที่ต้องการได้จริงหรือ? หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากคำสอนที่ถูกเก็บงำไว้มากกว่า 100 ปี ของอัลเฟรด แอดเลอร์ นักจิตวิทยาผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการพัฒนาตนเอง” และกลายเป็นคัมภีร์ที่ชาวญี่ปุ่นหลายล้านคนนำไปใช้ เพื่อสร้างชีวิตที่ดีในแบบที่ต้องการ คุณเองก็ทำแบบนั้นได้เช่นกัน
สิ่งเดียวที่ต้องทำคือ “กล้าที่จะถูกเกลียด”
คำนำ
ณ ชานเมืองโบราณอายุนับพันปีมีนักปรัชญาคนหนึ่งอาศัยอยู่ เขากล่าวไว้ว่าโลกใบนี้เรียบง่ายไม่มีอะไรซับซ้อน และมนุษย์เราก็ไม่จำเป็นต้องทุกข์ทรมานอย่างที่เป็น แต่สามารถมีความสุขได้ตั้งแต่วันนี้ ทว่าชายหนุ่มคนหนึ่งไม่เห็นด้วย กับคำกล่าวนั้น เขาจึงเดินทางไปสอบถามข้อเท็จจริงกับนักปรัชญาถึงบ้าน ชีวิตของชายหนุ่มเต็มไปด้วยปัญหา โลกในสายตาของเขาจึงมีแต่ความสับสนวุ่ยวายและความขัดแย้ง ไม่มีทางที่จะมีความสุขไปได้เลย
ชายหนุ่ม / งั้นผมเริ่มเลยนะครับ อาจารย์เชื่อว่าโลกใบนี้เรียบง่ายไม่มีอะไรซับซ้อนใช่ไหมครับ
นักปรัชญา/ครับ โลกใบนี้เรียบง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน
ชายหนุ่ม / อาจารย์แน่ใจนะครับว่ากำลังพูดถึงโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ใช่โลกในอุดมคติ หมายความว่าปัญหาต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตผมกับอาจารย์ก็เป็นเรื่องที่เรียบง่ายเหมือนกันเหรอ
นักปรัชญา/แน่นอนครับ
ชายหนุ่ม / ก็ดีครับ แต่ก่อนจะคุยกันผมขอพูดถึงเหตุผลที่มาพบอาจารย์ในครั้งนี้ก่อน อย่างแรกเลยคือผมอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์ และถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะขอหักล้างความเชื่อของอาจารย์
นักปรัชญา/ฮ่า ฮ่า เอาอย่างนั้นเลยเหรอ
ชายหนุ่ม / ผมได้ยินคำเล่าลือเกี่ยวกับชื่อเสียงของอาจารย์มาบ้าง ว่ากันว่าในแถบนี้มีนักปรัชญาที่มีแนวคอดแปลกประหลาดและมองโลกในแง่ดีอย่างไม่น่าเชื่อ อาจารย์บอกว่าคนเราเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ และโลกใบนี้ก็เงียบง่ายจนไม่ว่าใคก็สามารถมีความสุขได้ แต่ผมคิดว่านั่นเป็นเรื่องที่เชื่อได้ยากอยู่สักหน่อย
ผมเลยจะมาพิสูจน์ด้วยตัวเอง หากสิ่งที่อาจารย์อธิบายมีจุดไหนที่ฟังดูประหลาด ต่อให้เป็นแค่จุดเล็กๆ ผมก็จะขอทักท้วงนะครับ ไม่ทราบว่าจะเป็นการกวนอาจารย์หรือเปล่า
นักปรัชญา/ไม่เลย รู้สึกยินดีด้วยซ้ำไป ผมเองก็อยากฟังความคิดเห็นและเรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างจากคนหนุ่มอย่างคุณเหมือนกัน
ชายหนุ่ม / ขอบคุณครับ ผมเองก็ไม่ได้จะมาค้านอย่างเดียวหรอก ขอลองทบทวนดูก่อนนะครับว่าแนวคิดของอาจารย์มีอะไรบ้าง ที่อาจารย์บอกว่าโลกและชีวิตของคนเรมนั้นเรียบง่ายคงจะหมายถึงชีวิตของพวกเด็กๆ สินะครับ เพราะเด็กไม่มีภาระหน้าที่ ไม่ต้องทำงานหรือเสียภาษี ได้ใช้ชีวิตเหลือเฟือจนรู้สึกจะทำหรือจะเป็นอะไรก็ได้ เหมือนมีมือคอยช่วยปิดหูปิดตาให้ไม่ต้องรับรู้ความจริงอันโหดร้าย ถ้าอย่างนั้นก็เข้าใจได้ครัย ในสายตาของเด็กโลกคงจะเรียบง่ายจริงๆ นั่นแหละ แต่พอเราโตเป็นผู้ใหญ่ โลกก็จะเผยธาตุแท้ออกมา เราถูกบีบให้ต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่คอยพร่ำบอกเราว่า “อย่างแกมันก็ได้แค่นี้แหละ” เมื่อเราโตขึ้น หลายสิ่งหลายอย่างที่เคยคิดว่าเป็นไปได้กลับกลายเป็น “สิ่งที่เป็นไปไม่ได้” ช่วงเวลาแสนสุขจบสิ้นลง โลกแห่งความเป็นจริงอันโหดร้ายเข้ามาแทนที่
นักปรัชญา/คุณคิดอย่างนี้นี่เอง น่าสนใจจริงๆ
ชายหนุ่ม / ไม่ใช่แค่นั้นนะครับ พอโตเป็นผู้ใหญ่เราก็ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคนโน้นคนนี้ มีภาระที่ต้องรับผิดชอบเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ครอบครัว หรือหน้าที่ทางสังคม ปัญหาที่ตอนเด็กๆ ไม่เคยรับรู้อย่างการเลือกปฏิบัติ สงคราม หรือความเหลื่อมล้ำทั้งหลายทั้งปวงก็เริ่มปรากฏสู่สายตา ทีนี้พอรับรู้แล้วก็ไม่สามารถแกล้งทำเป็นไม่รู้เหมือนเมื่อก่อนได้ ที่ผมพูดมานี้ผิดหรือเปล่าครับ
นักปรัชญา/ไม่น่าจะผิดนะครับ เชิญต่อได้เลย
ชายหนุ่ม / ถ้าเป็นยุคที่ศาสนายังมีอิทธิพลอยู่ก็คงจะพอมีทางออก แค่เชื่อว่าคำสอนของพระเจ้าคือทุกสิ่งทุกอย่างแล้วทำตามไปซะโดยไม่ต้องคิดอะไรมากความ แต่ตอนนี้ศาสนาแทบไม่เหลืออิทธิพลอะไร ความศรัทธาในพระเจ้ากลายเป็นแค่ความหวังลมๆ แล้งๆ ผู้คนไม่เหลืออะไรให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ พวกเขารู้สึกหวั่นวิตก หวาดระแวงสังสัยไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง และมีชีวิตอยู่โดยคิดถึงแต่ตัวเอง นี่แหละสังคมทุกวันนี้ เอาละครับ รู้แบบนี้แล้วอาจารย์ยังจะบอกว่าโลกนี้เรียบง่ายอยู่อีกเหรอ
นักปรัชญา/ครับ ผมยังยืนยันคำเดิม โลกใบนี้เรียบง่ายชีวิตคนเราก็เช่นกัน
ชายหนุ่ม / ทำไมล่ะครับ ไม่ว่าจะมองยังไงโลกใบนี้ก็สับสนวุ่นวายและเต็มไปด้วยความขัดแย้งไม่ใช่เหรอ
นักปรัชญา/ “โลก” ไม่ได้สับสนวุ่นวายครับ “ตัวคุณ” ต่างหากที่ทำให้โลกดูสับสนวุ่นวาย
ชายหนุ่ม / ตัวผมเหรอ
นักปรัชญา/ไม่มีใครอยู่ในโลกอย่างปราศจากอติหรอกครับ เราแต่ละคนล้วนอยู่ในโลกส่วนตัวที่ตัวเองเป็นคนปั้นแต่งขค้นมาทั้งนั้น ดังนั้น โลกที่คุณเห็นกับโลกที่ผมเห็นจึงแตกต่างกัน เรียกว่าเป็นโลกของใครของมันก็ว่าได้
ชายหนุ่ม / หมายความว่ายังไงครับ ผมกับอาจารย์อยู่ในยุคสมัยและประเทศเดียวกันก็น่าจะมองเห็นอะไรเหมือนๆ กันไม่ใช่เหรอ
นักปรัชญา/ผิวเผินแล้วก็คงใช่ครับ จะว่าไปคุณก็ยังดูหนุ่มมากที่เดียว เคยดื่มน้ำที่ตักขึ้นมาจากบ่อหรือเปล่าล่ะ
ชายหนุ่ม / น้ำจากบ่อเหรอครับ เคยสิ แต่ก็นานมากแล้วล่ะ ที่บ้านคุณย่าของผมในต่างจังหวัดเคยตักน้ำจากบ่อขึ้นมาใช้ ในวันที่อากาศร้อนระอุกลางฤดูร้อน การได้ดื่มน้ำจากบ่อทำให้รู้สึกสดชื่นมากเลย
นักปรัชญา/คุณคงรู้อยู่แล้วว่าอุณหภูมิของน้ำในบ่อจะอยู่ที่ประมาณ 18 องศาเซลเซียสตลอดทั้งปี ไม่ว่าใครจะวัดก็ได้ค่าออกมาเท่ากันหมด เพราะอุณหภูมินั้นเป็นข้อเท็จจริง แต่เรากลับรู้สึกว่าน้ำจากบ่อที่ได้ดื่มในฤดูร้อนนั้นเย็นชื่นใจ ทว่าพอดื่มในฤดูหนาวกลับรู้สึกว่ามันอุ่น ทั้งที่อุณหภูมิของน้ำยังคงเท่าเดิมไปเปลี่ยนแปลง ที่เป็นเช่นนี้เพราะอากาศในฤดูร้อนกับฤดูหนาวทำให้คนเรารู้สึกแตกต่างกันนั่นเอง
ชายหนุ่ม / แปลว่าสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทำให้คนเราสร้างภาพมายาขึ้นมาเหรอครับ
หากสนใจหนังสือเล่มนี้ สามารถสั่งซื้อจากร้านนายอินทร์ โดยคลิกที่ Link นี้ได้เลยครับ